FUTEX นำเสนอโปรเจกต์สุดล้ำ 70 รายการ ในโซนจัดแสดงข้ามสาขาครั้งแรกของงาน

19 Oct 2021

การเติบโตในการใช้เทคโนโลยี AI, IoT, บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีอื่น ๆ กำลังเร่งให้เกิดการหลอมรวมข้ามสาขา โดยโซน Future Tech Theme Pavilion (FUTEX) ในงานจัดแสดง 2021 Taiwan Innotech Expo (TIE) ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MOST) ด้วยการสนับสนุนจาก Academia Sinica, กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสุขภาพและสังคมสงเคราะห์นั้น ได้จัดพื้นที่แสดงผลงานข้ามสาขาเป็นครั้งแรก โดยมีการนำเสนอโปรเจกต์ข้ามสาขารวมกัน 70 รายการในนิทรรศการ ทั้งนี้ Fusion Medium ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรสื่อประจำงานนี้

จัดแสดงโปรเจกต์ล้ำนวัตกรรม 70 รายการ โดยการใช้งานข้ามสาขาในการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจมากที่สุด

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยีซึ่งแต่ก่อนแบ่งแยกออกจากกันชัดเจนนั้นเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น โดยทีมงานจาก National Taiwan University กำลังนำเทคโนโลยี AI, แมชชีนเลิร์นนิง, การสร้างภาพสามมิติ, การประมวลผลบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้พัฒนาเครื่องมือตรวจจับและเทคโนโลยีติดตามที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้รักษามะเร็งประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ไปจนถึงมะเร็งอะดีโนคาร์ซิโนมาในปอดและมะเร็งสมองระยะแพร่กระจาย ขณะที่ทีมงานจาก National Tsing Hua University ยังคงเดินหน้านำเสนอความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาควิชาการ ในการทำงานร่วมกับบรรดาผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ United Microelectronics Corporation (UMC) ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงและดีพเลิร์นนิงไปใช้ในการควบคุมกระบวนการขั้นสูง การตรวจจับความผิดปกติต่าง ๆ และเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะอื่น ๆ

การนำผลิตภัณฑ์สวมใส่ไปใช้อย่างแพร่หลายประกอบกับแพลตฟอร์มพลัง AI ก่อให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับยาแผนปัจจุบัน

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนายารักษาอาการของไวรัส โดยทีมงานจาก National Yang-Ming University ได้สร้างแพลตฟอร์มพลัง AI เพื่อนำยาแผนปัจจุบันไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นโดยใช้ AI และบิ๊กดาต้า ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนายาชนิดรับประทานที่มีสรรพคุณสำคัญทางคลินิก

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การสื่อสารแบบสัมผัสน้อยลงหรือไม่สัมผัสเลยกลายเป็นวิถีใหม่ โดยศูนย์วิจัย MOST AI Research Center ในสังกัด National Taiwan University ได้สร้างโซลูชันติดตามอาการแสดงผ่านนาฬิกาอัจฉริยะและผลิตภัณฑ์สวมใส่อื่น ๆ เพื่อแจ้งเตือนด้วยเสียงเมื่อบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินทำงานหนักเกินไป

ด้านทีมงานจาก Taipei Medical University ก็ได้นำเทคโนโลยีไร้สัมผัสมาใช้ ในการพัฒนาแพลตฟอร์มติดตามและดูแลการหายใจทางสรีรวิทยาแบบไร้สัมผัสเป็นลำดับชั้น ซึ่งใช้เรดาร์คลื่นมิลลิเมตรติดตามระบบหายใจ พร้อมระบบติดตามและบันทึกระดับออกซิเจนในเลือดอย่างต่อเนื่อง ระบบรายงานอาการที่ควบคุมด้วยแชทโรบอท เทคโนโลยี AI และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้แพลตฟอร์มดังกล่าวติดตามอาการป่วยและมอบประโยชน์ได้มากที่สุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด

เปลี่ยนหนังปลาเหลือทิ้งให้กลายเป็นวัสดุใหม่ในการซ่อมแซมบาดแผล

หนังปลาเหลือทิ้งนำไปใช้ฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้ โดย Chuang Shen Biotechnology ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยศูนย์ National Cheng Kung University International Wound Repair and Regeneration Center ได้นำเทคโนโลยีอันเป็นกรรมสิทธิ์มาใช้ เพื่อสกัดคอลลาเจนชนิดที่ 1 ความบริสุทธิ์สูงจากหนังปลาเหลือทิ้ง ซึ่งนำไปสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนังและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ ทั้งยังนำไปต่อยอดในการวิจัยทางชีววิทยาศาสตร์ วัสดุทางชีวการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ดูแลความงามทางการแพทย์ในอนาคตได้ด้วย

ข้อมูลการจัดแสดง

วันที่: 14-23 ตุลาคม 2564
2021 TIE On-Line Expo: https://tievirtual.twtm.com.tw/
FUTEX (Future Tech) On-Line Expo: https://reurl.cc/Rby4Ng
FUTEX (Future Tech) Official Website: https://www.futuretech.org.tw/futuretech/index.php
FUTEX (Future Tech) Facebook: https://www.facebook.com/futuretech.org.tw/