กว่างซีเปิดกว้างรับโอกาสใหม่ในความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกลุ่มประเทศอาเซียน

27 Sep 2021

การประชุมจีน-อาเซียนว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมความร่วมมือ ครั้งที่ 9 (Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation) มีขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 กันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองหนานหนิง และมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจีน-อาเซียน (China-ASEAN Technology Trading Platform) และพื้นที่นวัตกรรมสำหรับผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-อาเซียน (Innovation Space for China-ASEAN Science and Technology Talents) อย่างเป็นทางการในงานนี้

กว่างซีเปิดกว้างรับโอกาสใหม่ในความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกลุ่มประเทศอาเซียน

ในหลายปีที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซีได้ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ของกว่างซีอย่างเต็มที่ เช่น การที่มีอาณาเขตติดกับกลุ่มประเทศอาเซียน การใช้แผนดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม "Belt and Road" เสริมแกร่งการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน (CATTC) ความมุ่งมั่นที่จะเปิดกว้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกว่างซีกับอาเซียน

ภายใต้คำแนะนำของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี ได้บุกเบิกรูปแบบใหม่ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ช่วยให้ CATTC จัดตั้งกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีทวิภาคีระดับรัฐบาลกับ 9 ประเทศอาเซียน รวมถึง ไทย ลาว และกัมพูชา จัดตั้งคณะทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับ 7 ประเทศอาเซียน และจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียนที่ครอบคลุม 10 ประเทศอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ตามแนว Belt and Road Initiative โดยมีสมาชิกกว่า 2,600 ราย ซึ่งช่วยกระตุ้นความร่วมมือในด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนได้อย่างแข็งแกร่ง

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซีได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศเพื่อสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรม เช่น ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ประจำกรุงเทพฯ, ศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี นันยาง และศูนย์นวัตกรรมข้อมูล Big Earth ระหว่างจีน-อาเซียน เพื่อรองรับกลยุทธ์การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของกว่างซี ส่งเสริมกลไกแบ่งปันทรัพยากรนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศภายใต้แพทเทิร์นการเรียนรู้คู่แบบใหม่ ช่วยเหลือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่องค์กร มหาวิทยาลัย และสถาบันของกว่างซี ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการหรือศูนย์นวัตกรรมร่วม 20 แห่งใน 9 ประเทศอาเซียน และสร้างความร่วมมือกับประเทศตามแนว "Belt and Road" Initiative โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ในด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และช่วยจัดตั้งนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร 12 แห่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่งเสริมความสามารถด้านการแข่งขันของผลิตภัณฑ์จีนออกสู่ทั่วโลกผ่านศูนย์วิจัยด้านการแพทย์แบบดั้งเดิมจีน-ไทย (China-Thailand Traditional Medicine Research Center) และห้องปฏิบัติการประยุกต์ที่ใช้งานระบบเป่ยโต่วระหว่างจีน-มาเลเซีย และอื่น ๆ พร้อมส่งเสริมการใช้ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีชั้นสูงในด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ พลังงานใหม่ การแพทย์แบบดั้งเดิม การแปรรูปอาหาร ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมเคมีในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

เพื่อให้ครอบคลุมกับปัญหาการพัฒนาระดับภูมิภาค กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกว่างซีได้ส่งเสริมการร่วมวิจัย พัฒนา และส่งเสริมเทคโนโลยีสำคัญทั่วไประหว่างสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และองค์กรของกว่างซีกับกลุ่มประเทศอาเซียน ตัวอย่างเช่น ช่วยมหาวิทยาลัย Guangxi University of Chinese Medicine, Chinese Academy of Sciences และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อ "วิจัยยาต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการใช้ส่วนประกอบจากตัวยาธรรมชาติของจีนและไทย" เสร็จสิ้นสูตรผสมยาสำหรับรักษาโรคโควิด-19 ทำการวิเคราะห์และได้รับโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นครั้งแรกของโลก ให้การสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาเพิ่มเติมของยาต้านไวรัส SARS-CoV-2 และช่วยให้บริษัท China-ASEAN Information Harbor Co., Ltd. เชื่อมต่อกับองค์กรโทรคมนาคมในฟิลิปปินส์ เพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า และ Internet of Things ในฟิลิปปินส์

ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ลิงก์ภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=402014

คำบรรยายภาพ: อาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=402

กว่างซีเปิดกว้างรับโอกาสใหม่ในความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกลุ่มประเทศอาเซียน