ส่องเทรนด์การลงทุน: ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

11 Aug 2021

โดยคุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

หากมองย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปีพ.ศ. 2564 มีการคาดการณ์ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากปัจจัยเรื่องการดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ และจากนโยบายการอัดฉีดงบประมาณจำนวนมหาศาลจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ผู้คนต่างมีความหวังในการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งจะทำให้สามารถกลับมาเดินทางท่องเที่ยวได้ก่อนสิ้นปี

แม้ว่าในครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2564 ประเทศทั่วโลกยังคงต้องรับมือกับการกลายพันธ์ของโควิด-19 แต่เรายังมองเห็นโอกาสในการเติบโตด้านเศรษฐกิจจากนโยบายทางการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายตลอดสิ้นปีนี้ คุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะมาร่วมแบ่งปันความคิดเห็นถึงปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและโอกาสในการลงทุนในอนาคตสำหรับนักลงทุน

ปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 ได้แก่

- มาตรการผ่อนคลายทางการเงินและมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยในการฟื้นตัว
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกเอาไว้ อาทิ สหรัฐอเมริกา ได้เผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และแพ็กเกจเยียวยาโควิด-19 มูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภค การกระตุ้นทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกกลับมาสู่ระดับปกติเหมือนช่วงก่อนโควิด-19 อีกครั้งภายในสิ้นปี 2564 หรือต้นปี 2565

- โมเมนตัมจากเปิดเศรษฐกิจ: อัตราในการฉีดวัคซีนมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เราจะเห็นได้จากประเทศที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว คือประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมจำนวนประชากรจำนวนมากและรวดเร็ว และเมื่อภาคเศรษฐกิจกลับมาเปิดอีกครั้ง ความต้องการจับจ่ายที่ถูกจำกัดไว้ในช่วงการล็อกดาวน์หลายเดือนจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจะมีความมั่นใจมากขึ้น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการพักผ่อนจะเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย อาทิ การเดินทางเพื่อพักผ่อนภายในประเทศของพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะช่วยผลักดันให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้นในปี 2564 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณาสิ่งที่อาจเกิดขึ้น หากมาตรการสนับสนุนจากธนาคารกลางยุติลง เช่น อัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น สภาพคล่องน้อยลงและมูลค่าทรัพย์สินที่ปรับตัวลง จะส่งผลให้ตลาดการเงินมีแนวโน้มผันผวน

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศและการกลายพันธุ์ของไวรัส อาจทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลง รัฐบาลภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศนโยบายต่างประเทศกับคู่แข่งคนสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ จีน รัสเซีย และแม้แต่อิหร่าน ได้เพิ่มความตึงเครียดทางการค้าที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจและเป็นความเสี่ยงที่น่าจับตามอง เพื่อช่วยเหลือนักลงทุนในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว ยูโอบีได้แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เอาไว้ดังนี้

- ลดอายุเฉลี่ยของการลงทุนในตราสารหนี้
ด้วยคุณสมบัติที่มีความทนทานของตราสารหนี้ ส่งผลให้สามารถรับมือต่อความผันผวนที่เพิ่มขึ้น ทำให้พอร์ตของนักลงทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น ตราสารหนี้ที่มีอายุสั้นกว่าจะลดภาวะขาดทุน หากธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อตอบรับกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้น

- สร้างพอร์ตการลงทุนไปกับ Megatrends
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ธีมการลงทุนระยะยาว เช่น ดิจิทัล ความยั่งยืน นวัตกรรม และการบริโภคของชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น จะยังคงเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจในระยะยาว เมกะเทรนด์ต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน จะสร้างโอกาสในการลงทุนเนื่องจากการพัฒนาในด้านใดด้านหนึ่งอาจส่งผลนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างมากมายในด้านอื่นๆ

- หาโอกาสจากกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัว และยังคงลงทุนต่อเนื่องในกลุ่มที่เติบโตมาแล้ว
เมื่อความไม่แน่นอนบรรเทาลง เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว กลุ่มอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่จะได้รับผลประโยชน์ที่สุด ก็คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาด COVID-19 อันได้แก่ หุ้นคุณค่าในสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัวและน่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อกำลังผ่อนคลายลงและการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจเป็นโอกาสที่ดีของกลุ่มหุ้นเติบโตของสหรัฐฯ และหุ้นเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex-Japan) เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่เคยได้รับประโยชน์จากการแพร่ระบาดก่อนหน้านี้แล้ว นักลงทุนควรจัดสรรพอร์ตเพื่อคว้าโอกาสจากกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัว แต่ยังคงลงทุนในกลุ่มที่เติบโตมาก่อนหน้าแล้ว

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่ไม่เท่ากันซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผันผวนของตลาด แม้ว่าจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่ก็ตาม ธนาคารยูโอบี เป็นธนาคารที่มุ่งเน้นให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุนสร้างสมดุลของพอร์ตการลงทุน และกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน แต่ยังคงคว้าโอกาสและลงทุนต่อไปแม้ในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน

ที่มา: UOB Outlook for H2 2021

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จากัด ประเทศไทย (กลุ่มธนาคารยูโอบี) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 152 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 410 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 มกราคม 2564) ยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ กลุ่มธนาคารยูโอบี มีสินค้าและบริการด้านการเงิน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจในการให้บริการ ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์

ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์

กลุ่มธนาคารยูโอบี ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเน้นที่ศิลปะ เยาวชนและการศึกษา กลุ่มธนาคารยูโอบีได้จัดเวทีประกวดศิลปะที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งได้ขยายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการยืนยันถึงบทบาทของกลุ่มธนาคารยูโอบีในการสนับสนุนวงการศิลปะ สมาคมศิลปะประจำชาติแห่งประเทศสิงคโปร์ได้ยกย่องกลุ่มธนาคารยูโอบีให้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะทรงเกียรติ 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2557 กลุ่มธนาคารยูโอบียังได้สนับสนุนให้พนักงานทั่วภูมิภาคร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงกิจกรรม UOB Heartbeat Run ซึ่งจัดในประเทศจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย