"ทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียในอนาคต" สู่ทางเลือกการเรียนรู้ กับ ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม

26 Apr 2021

เมื่อโลกหมุนไปข้างหน้า พร้อมกับการเติบโตของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ที่ SPU DYNAMIC UNIVERSITY ก็เช่นกัน วันนี้จึงขอนำทุกท่านไปพูดคุยกับ ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคนเก่งจากรั้ว คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับถึงทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียในอนาคต ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"ทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียในอนาคต" สู่ทางเลือกการเรียนรู้ กับ ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า สำหรับทิศทางอุตสาหกรรม "ดิจิทัลมีเดีย" ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ??? หากย้อนกลับไปเมื่อก่อน ถ้าพูดคำว่า ดิจิทัลมีเดีย (Digital media) จะไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ปัจจุบันผู้คนต่างรู้จักและได้ยินคำนี้จากสิ่งรอบตัว มันกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยและพบเห็นได้อยู่บ่อยๆ คือ Digital Device เช่น โทรศัพท์มือถือ นาฬิกา คอมพิวเตอร์ Laptop Tablet ทุกอย่างมันคือการผสมผสาน Digital เข้ากับตัวอุปกรณ์จนเกิดเป็นเทคโนโลยีทั้งหมด

เพราะฉะนั้น Section ที่คณะเรายืนอยู่นั้น จึงเป็นเรื่องของเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Content วันนี้มนุษย์เราอยู่บ้านกันมากขึ้นก็ยิ่งต้องการเนื้อหามากขึ้นเช่นกัน เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลมันก็จะไปอยู่ในชาแนลทีมีอยู่และปรากฎอยู่ในอุปกรณ์ที่เราถือติดตัวอยู่ตลอดอย่าง Smartphone ดังนั้นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดีย จะเติบโตไปอย่างก้าวไกลแน่นอน

ผศ.ดร.กมล กล่าวต่อว่า ที่ SPU เรามีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัยไม่ตกเทรนด์! หลักสูตรคณะดิจิทัลมีเดีย มีทั้งหมด 4 สาขา ซึ่งจริงๆ เราก็กางขาไว้ในซีกของ Digital Product ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สาขาออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม สาขาแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ สาขาการออกแบบกราฟิก และ สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ ทั้งหมด 4 สาขานี้มีความแข็งแรงในโปรดักชั่น ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทั้ง 4 สาขา ก็มีการปรับเปลี่ยนตัวเองมาตลอด เรียกได้ว่า เราเติมของใหม่เรื่อยๆ

สาขาออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม จะเห็นได้ว่าเราเน้นในเรื่องของ E-sports เป็นหลัก แต่ตอนนี้เราเริ่มโฟกัสเรื่อง Application มากขึ้น โดยเราได้พัฒนาระบบหลังบ้านของแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งปัจจุบัน Demand มันมาถึงตรงจุดที่ว่า มีการนำเอาเกมส์ไปใช้กับธุรกิจมากขึ้น นำไปใช้ทำให้คนรู้จักองค์กรต่างๆ เรียกว่า Gamification ดังนั้นการทำแอพพลิเคชั่นจึงเกิดขึ้น เป็นเหมือนของใหม่ในสาขาตอนนี้

สาขาแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เรียนเกี่ยวกับการทำภาพเคลื่อนไหว Computer generated หรือ CG โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเมนหลักในการเล่าเรื่อง 2D หรือ 3D ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่า เราก็มีการเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เล่าเรื่องเป็นภาพยนตร์ด้วย เช่น ภาพยนตร์โฆษณาที่มันต้องมีเอฟเฟกส์เยอะๆ หรือภาพยนตร์จริงๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมากๆ อย่าง Extended Reality ซึ่งวันนี้ได้มีการใช้ในเมืองไทยแล้ว

ผมว่ามันเจ๋งมาก เพราะ Extended Reality มันคือการถ่ายนักแสดงไปพร้อมกับ Blackgroud ที่อยู่เบื้องหลัง โดยปกติเราจะต้องถ่ายนักแสดงบน Green Screen แล้วค่อยเอา Blackground เบื้องหลังมาตัดแปะในขั้นตอน Post-production แต่ ณ วันนี้ด้วยเทคโนโลยีของแท้ LED wars ที่ให้ความละเอียดคมชัดมาก จนเวลาเรามองด้วยตาเปล่า เรานึกว่าภาพจริงๆ ได้เลย เพราะฉะนั้นวันนี้เราก็เลยเอา Led wars มาติดหมดเลย

ส่วนคำว่า Extend คืออะไร คือการเอาคอนเซปของเกมส์เข้าไปใส่ในคอนเซปของฟิล์ม วันนี้เราจะได้เห็นตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Star wars หรือหนัง Hollywood ดังๆ ก็เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ ในเมืองไทยก็มี เช่น VDO ของ BNK 48 ที่มีการเปลี่ยนหลายๆ ฉาก หลายๆ สถานที่ นั่นก็ใช้ Led wars นี่ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เพราะเราอาจจะต้องทำแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ให้เป็นฟิล์มเทคโนโลยี รับรองว่าเรียนกับเรา ไม่ซ้ำกับคนอื่นอย่างแน่นอน

สาขาการออกแบบกราฟิก เราจะโฟกัสในเรื่องของ Augmented Reality หรือ AR มากขึ้น เพราะ AR มันก็คือกราฟิกที่ลอยอยู่หน้ากล้อง ปัจจุบันทุกคนมีมือถือ เพียงแค่สแกนไปที่รูปทรงของวัตถุก็สามารถรู้ได้แล้วว่ามันคืออะไร ซึ่งเมื่อก่อนมันมีความยากกว่า ต้องสแกนไปที่คิวอาร์โค้ดเท่านั้นถึงจะรู้ได้ วันนี้กราฟิกเราเข้าไป Interactive Multimedia กับสภาพแวดล้อม เพราะว่าเราคือ ดิจิทัลมีเดีย เราเลยนำเทคโนโลยีที่มีของหลายๆ สาขามาผสมผสาน แต่ตัวหลักก็ยังคือ กราฟิก ถ้าเรียกแค่กราฟิก เด็กๆ อาจจะไม่เข้าใจ หรือยังดูไม่ดึงดูดใจมากพอ ดังนั้นชื่อเล่นของสาขาเราคือ SmartArt Graphic

สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ มันเป็นความอาร์ตที่มีความเข้มข้นมากๆ คล้ายกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ แต่อันนี้เราใช้ทั้งเครื่องมือและเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เห็นความแตกต่าง และสามารถนำความอาร์ตมาต่อยอดได้ ยกตัวอย่าง บางคนวาดรูปสวยแต่ไม่รู้จะเอามาอยู่ในเกมส์ยังไง แต่ถ้าเราสามารถนำมันเข้ามาอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ มันก็ยิ่งต่อยอดเป็นอีกหนึ่งชิ้นงานได้จริงๆ สาขานี้จึงสอนเทคนิค เทคโนโลยี ให้คุณได้ลงมือทำจนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์ เรียกว่าเป็นสาขาที่ล้ำมากเพราะนำไปต่อยอดได้ทุกที่

ดังนั้น ทุกสาขาของเรามีความแข็งแรงของมันอยู่แล้ว แต่ข่าวดีของเราก็คือ เรากำลังจะเปิดเพิ่มอีกหนึ่งสาขา คือ Digital Business เป็นซีกของธรุกิจ เพราะมีเด็กของเราที่เรียนจบไปเป็นเจ้าของธุรกิจเพิ่มมากขึ้น คณะดิจิทัลมีเดีย จึงพยายามจะขยับแวดวงให้กว้างขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กับเด็กที่เรียนด้านนี้มาโดยตรง เรียกว่าเป็นการสร้างแบรนด์ต่อยอดไปอีกขั้นนึงของธุรกิจ

สมัครเรียน | คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

www.spu.ac.th/fac/sdm

"ทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียในอนาคต" สู่ทางเลือกการเรียนรู้ กับ ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม