ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเผยแนวทางสร้างคุณค่าชุดใหม่ที่ช่วยสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

24 Mar 2021

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเผยแนวทางสร้างคุณค่าชุดใหม่ที่ช่วยสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

โดยเตรียมผลิตภัณฑ์และบริการการค้าระหว่างประเทศเพื่อช่วยลูกค้าบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเผยโซลูชั่นการค้าระหว่างประเทศเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ยุโรปและอเมริกา ชูแนวทางสร้างคุณค่าการค้าระหว่างประเทศที่ยั่งยืนชุดใหม่ของธนาคารได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถดำเนินตามแนวทางความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้นทั้งระบบนิเวศธุรกิจและทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น  

แนวทางสร้างคุณค่าการค้าระหว่างประเทศที่ยั่งยืนได้ยึดหลักการเงินกู้ที่มีความเชื่อมโยงกับความยั่งยืนและเงินกู้สีเขียวของสมาคมตลาดเงินกู้เป็นกรอบการทำงานด้านการค้าระหว่างประเทศของธนาคาร  โดยส่งเสริมให้ลูกค้าปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูล การรายงาน และนิยามในการใช้ให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในเบื้องต้น ธนาคารมุ่งเน้นที่ธุรกรรมการเงินในห่วงโซ่อุปทาน การเปลี่ยนใบสั่งซื้อเป็นเงินสด ลูกหนี้การค้า การออกตราสารหนี้และการรับประกัน รวมถึงหนังสือค้ำประกัน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะขยายผลต่อเนื่องไปในอนาคต โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวข้างต้นจะช่วยให้ธุรกรรมในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกซึ่งองค์กรการค้าโลกคาดว่ามูลค่าอยู่ที่ราว 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น 

แนวทางสร้างคุณค่าการค้าระหว่างประเทศที่ยั่งยืนนี้จะทำให้ธนาคารสามารถสนับสนุนลูกค้าได้ดังต่อไปนี้:

  1. สินค้าที่ยั่งยืน (Sustainable goods) : ทำงานร่วมกับลูกค้าและคู่ค้าในการจัดหาทุนตามสินค้าอ้างอิงที่ได้มาตรฐานความยั่งยืนตามที่ได้ตกลงไว้.
  2. ซัพพลายเออร์ที่ยั่งยืน (Sustainable suppliers) : สนับสนุนการค้าให้กับซัพพลายเออร์ที่ได้มาตรฐานคะแนนด้าน ESG หรือมาตรการวัดในด้านต่างๆ อาทิเช่น คุณภาพทางเพศ เกณฑ์ด้านการจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ และการใช้น้ำ
  3. การใช้ปลายทางที่ยั่งยืน (Sustainable end-use) : เน้นการค้าระหว่างประเทศในอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย พลังงานทดแทน ประสิทธิภาพด้านพลังงาน เศรษฐกิจสีน้ำเงิน โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การจัดการน้ำ และการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. เปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม (Transition industries) : ช่วยอุตสาหกรรมต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยมอบบริการด้านการค้าระหว่างประเทศที่ตระหนักถึงความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซ

ไซม่อน คูเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานกลุ่มลูกค้าองค์กรและลูกค้าสถาบัน (Corporate, Commercial & Institutional Banking) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานในยุโรปและทวีปอเมริกา กล่าวว่า "การค้าระหว่างประเทศมีโอกาสอย่างยิ่งในการช่วยให้ธุรกรรมในห่วงโซ่อุปทานมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยมีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แนวทางสร้างคุณค่าการค้าระหว่างประเทศชุดใหม่ของเราจะช่วยสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ในขณะที่เราเดินหน้าขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกให้มีความยั่งยืนและหลากหลายยิ่งขึ้น"

ตัวอย่างโซลูชั่นการค้าระหว่างประเทศที่ยั่งยืนของธนาคารซึ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ได้แก่:

  • โซลูชั่นทางการเงินในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนสำหรับบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตชุดกีฬาแห่งหนึ่ง เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานในด้าน ESG/ความยั่งยืนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืนยิ่งขึ้นตลอดทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน
  • การเปลี่ยนใบสั่งซื้อเป็นเงินสดสำหรับการนำเข้าของผู้ผลิตยานพาหนะไฟฟ้าแห่งหนึ่ง
  • ตราสารหนี้/การค้ำประกัน และโซลูชั่นการค้าระหว่างประเทศสำหรับบริษัทด้านพลังงานทดแทน
  • การนำเข้าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลด้วยการเปลี่ยนใบสั่งซื้อเป็นเงินสดสำหรับการนำเข้า ซึ่งอยู่ภายใต้พันธสัญญาทางการเงินมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งธนาคารได้ประกาศไปเมื่อเดือนมีนาคม 2563 นอกจากนี้ ธนาคารยังให้บริการการค้าระหว่างประเทศในราคาต้นทุนสำหรับบริษัทที่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ 

เกี่ยวกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

เราเป็นกลุ่มธนาคารสากลชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจใน 59 ตลาดที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าในอีก 85 ตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการค้า การลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง หลักการที่สืบทอดมาและค่านิยมองค์กรของเราสะท้อนอยู่ในพันธกิจของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ว่า Here for good  

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจำกัด มหาชน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนและฮ่องกง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการอ่านบทความจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดเยี่ยมชม Insights ได้ที่เว็บไซต์ www.sc.com และติดตามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook