Lombard Odier และ KBank Private Banking เผยผลสำรวจ มุมมองผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ต่อชีวิตวิถีใหม่

25 Feb 2021

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) และพันธมิตรทางธุรกิจทั้ง 5 รายในภูมิภาคเอเชีย เผยผลสำรวจล่าสุด 'สานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม: การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal' ซึ่งศึกษามุมมองและข้อกังวลของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) และผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียท่ามกลางช่วงเวลาแห่งความท้าทาย พร้อมเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนบริการการบริหารความมั่งคั่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลกลุ่มนี้ได้ดียิ่งขึ้น

Lombard Odier และ KBank Private Banking เผยผลสำรวจ มุมมองผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ต่อชีวิตวิถีใหม่

รายงานฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมความคิดเห็นของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูง 150 รายในหลากหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน ครอบคลุมมุมมองในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี การลงทุน ครอบครัว และความยั่งยืน

นายวินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ซับซ้อน ส่งผลให้หลากหลายครอบครัวและนักธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคต้องปรับเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ บุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายรายต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ในช่วงเวลาที่การเดินทางกลายเป็นเรื่องยากลำบากยิ่งขึ้น รวมไปถึงบริการจากธนาคารที่ให้ความสำคัญกับหลักการและความเชื่อที่สอดคล้องกันกับสิ่งที่พวกเขาให้คุณค่าและรู้สึกเชื่อมโยงด้วย การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ KBank Private Banking ได้ตอบโจทย์ความต้องการนี้ และทำให้ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยสามารถเข้าถึงโอกาสด้านการลงทุน ผ่านเครือข่ายของ Lombard Odier ในภูมิภาคเอเชีย"

เทคโนโลยี: สร้างสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์

โรคโควิด-19 ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องตกอยู่ในสภาวะที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รายงานฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในด้านการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล โดย 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า 'การติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง' จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ซึ่งผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยที่คิดเห็นเช่นนี้มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและไพรเวทแบงก์ โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน: มองหาบริการอื่นๆ ที่มากกว่าการลงทุน

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียเล็งเห็นถึงความผันผวนของตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงินในครั้งก่อนๆ ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก จากผลสำรวจพบว่า 70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วนเลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ด้วยแนวโน้มการหมุนกลับของโลกาภิวัตน์ ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายรายต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาด้านการจัดการบริหารสินทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยเสนอแนวทางและให้คำแนะนำ ช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริหารสินทรัพย์ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอน โดย 87% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่ผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยให้ความสำคัญสูงสุด ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพย์สิน การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์ และความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ

บริการสำหรับครอบครัว: ธรรมาภิบาลของครอบครัวคือเรื่องเร่งด่วน

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ครอบครัวของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียเริ่มกลับมาทบทวนเรื่องแนวทางจัดการธุรกิจและทรัพย์สินครอบครัว และธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัว ด้วยเหตุนี้ หลายครอบครัวจึงกำลังพิจารณาที่จะเริ่มวางแผนด้านธรรมาภิบาลครอบครัว สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

ความยั่งยืน: การลงทุนอย่างยั่งยืนคือวิถีแห่งอนาคต

กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเริ่มหันกลับมาตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งกระแสด้านความยั่งยืนคือหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือกไพรเวทแบงก์ โดย 69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด ซึ่งประเทศไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากที่สอง รองจากประเทศญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ก้าวต่อไปของไพรเวทแบงก์ไทย

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า "ผลสำรวจจากรายงานฉบับนี้เป็นการตอกย้ำความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้น และซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในหลากหลายมิติท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ในขณะที่ทั่วโลกกำลังปรับตัวกับโลกในยุคหลังโควิด-19 KBank Private Banking พร้อมด้วยพันธมิตรทางธุรกิจ Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้าในชีวิตวิถีใหม่"

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง และติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

"ตราบใดที่โลกยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น เรายิ่งต้องยกระดับการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจของเรา ผ่านวิสัยทัศน์ องค์ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมสร้างเศรษฐกิจที่พร้อมปรับตัวได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างสังคมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าเดิม" นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวปิดท้าย

เกี่ยวกับ Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์)

ลอมบาร์ด โอเดียร์ คือผู้นำด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งระดับโลก ด้วยประสบการณ์กว่า 220 ปี และการผ่านวิกฤตทางการเงินมาถึง 40 ครั้ง ลอมบาร์ด โอเดียร์ ได้ผสมผสานนวัตกรรมและองค์ความรู้อย่างรอบคอบ เพื่อสอดรับกับผลประโยชน์ระยะยาวของลูกค้าทั้งภาคเอกชนและระดับสถาบัน กลุ่มบริษัทของเราบริหารและถือครองโดยกลุ่มผู้ถือหุ้น ด้วยสภาพคล่องทางการเงินสูงและการบริหารเงินทุนที่ดีเยี่ยม โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) อยู่ที่ 29.7% และการจัดอันดับคะแนนความน่าเชื่อถือโดย Fitch Rating ที่ AA-

ลอมบาร์ด โอเดียร์ นำเสนอบริการด้านความมั่งคั่งอย่างครบวงจร อันประกอบไปด้วย การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สิน การให้คำปรึกษาและบริหารพอร์ตแบบจัดการเบ็ดเสร็จ และการรับฝากและดูแลหลักทรัพย์ ส่วนการบริการจัดการสินทรัพย์จะได้รับการดูแลโดยผู้จัดการการลงทุนของ ลอมบาร์ด โอเดียร์ (LOIM) นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทของเรายังได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการธนาคารที่ทันสมัยให้กับสถาบันทางการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง

กลุ่มบริษัทของเราดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าจำนวน 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563) และมีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1796 โดยในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 กลุ่มบริษัทของเรามีสำนักงานรวม 29 สาขาใน 23 เขต และพนักงานรวม 2,535 คน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.lombardodier.com

เกี่ยวกับ KBank Private Banking

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งอย่างครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล แก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยให้บริการในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา สร้างความเติบโต และส่งต่อความมั่งคั่ง ครอบคลุมทุกประเภททรัพย์สิน ทั้งทรัพย์สินทางการเงิน ธุรกิจครอบครัว อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลก Lombard Odier ทำให้ KBank Private Banking สามารถตอบสนองทุกโอกาสการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบและชีวิตที่ไร้กังวล แก่ลูกค้าคนสำคัญของธนาคาร

ต้องการสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมติดต่อไพรเวทแบงค์เกอร์ที่ดูแลท่าน หรือติดต่อ KBank Private Banking Contact Center: 02-8888811