'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ

15 Jan 2021

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องปรับตัวใช้ชีวิตวิถีใหม่กันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าวิกฤติในครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบมาถึงการเรียนการสอนโดยตรง "มูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย" ตระหนักถึงรูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนไป จึงได้ร่วมมือกับ สถานทูตออสเตรเลีย วิจัยและคิดค้น www.thailandlearning.org เว็บพอร์ทัลขึ้นมา

'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ

"ดร. รัตนา แซ่เล้า" เจ้าหน้าที่โครงการอาวุธโส ฝ่ายวิจัยและนโยบายของมูลนิธิเอเชียกล่าวว่า "การเรียนรู้มีอยู่ทุกที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทางมูลนิธิเอเชีย และสถานทูตออสเตรเลีย ร่วมมือกันสร้าง เว็บพอร์ทัลที่รวบรวมแหล่งข้อมูลการเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลก ให้นักเรียนไทยได้เติบโตทางความคิด พัฒนาทักษะการเรียนรู้แม้ในช่วงเวลาวิกฤติ แหล่งเรียนรู้นี้เป็นแหล่งเรียนรู้เคลื่อนที่ ที่ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งฝึกฝน ยิ่งได้" www.thailandlearning.org รวบรวมเนื้อหาการเรียนการสอนครอบคลุมทุกวิชาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงเนื้อหาความรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญต่อพัฒนาการเรียนรู้ จึงเป็นเหมือนศูนย์กลางความรู้ที่หลากหลาย เพราะมีองค์ความรู้จากทั่วทุกมุมโลก โดยผู้เข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ตอกย้ำให้เห็นชัดเจนว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผ่านแนวคิดการควบรวมเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษา อีกทั้งยังได้รวบรวมอุปกรณ์และแพลตฟอร์มที่ทำให้การสร้างห้องเรียนออนไลน์เป็นเรื่องง่าย

เพื่อให้ www.thailandlearning.org เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จึงได้เกิดโครงการนำร่อง ที่ใช้ชื่อว่า "สารคามพิทยาคมโมเดล" ได้นักเรียนจาก โรงเรียนสารคามพิทยาคม เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ค้นคว้าหาความรู้ในหัวข้อที่ตนเองสนใจผ่านพอร์ทัล www.thailandlearning.org แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นักเรียนส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องถึงการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ที่ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากในห้องเรียน ที่สำคัญคือใช้งานได้ง่าย ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ ส่งผลให้นักเรียนสามารถจัดสรรเวลา เสริมสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองแม้ไม่ได้อยู่ในสถานศึกษา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักเรียนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ สนับสนุนเกี่ยวกับแนวทางการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป คือ การช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อทำให้การเรียนรู้ในยุคดิจิตัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเสมอภาคกับผู้เรียน

เสียงเล็กๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้กล่าวถึง www.thailandlearning.org ว่า "นิยามของการเรียนรู้ของหนู คือการหาประสบการณ์ที่มากกว่าในห้องเรียน มันเกิดขึ้นได้ทุกที่ เช่น เวลาหนูช่วยแม่ทำกับข้าวในครัว หนูอยากรู้สรรพคุณของผักบางชนิด หนูทำการค้นหาและอ่านข้อมูล ผ่าน www.thailandlearning.org นั่นก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้แล้วค่ะ"

"การเรียนรู้ของหนูไม่มีวันสิ้นสุด และเกิดขึ้นได้จากทุกที่ของโลกใบนี้ มันเป็นได้มากกว่าการเรียนจากตำรา การเรียนรู้เป็นได้ทุกรูปแบบ เช่น จากการสังเกต การรับรู้ และการนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อ"

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากทุกที่ เพียงแค่คลิกเข้ามาที่ www.thailandlearning.org

'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ