มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เปิดตัวโครงการ “ฟ้องป้าเปีย” ให้คนกรุงส่งเรื่องร้องเรียน ปัญหาความเร็วในชุมชนเมือง ผ่านหลายช่องทาง ทั้งเพจเฟสบุ๊คส์-ทวิตเตอร์-อินตราแกรม ก่อนรวบรวม ยื่นบิ๊กกทม.แก้ปัญหา

22 May 2017

มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation) และภาคีเครือข่าย ด้านความปลอดภัยทางถนน ในประเทศไทยเปิดตัวโครงการ รณรงค์ "ฟ้องป้าเปีย" เพื่อเชิญชวนประชาชนชาวกรุงเทพฯ ผู้ได้รับผลกระทบจากการขับรถเร็ว ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง ส่งเรื่องเข้ามาฟ้องป้าเปียได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และอินสตราแกรม "ฟ้องป้าเปีย" เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลนำเสนอให้ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เปิดตัวโครงการ “ฟ้องป้าเปีย” ให้คนกรุงส่งเรื่องร้องเรียน ปัญหาความเร็วในชุมชนเมือง ผ่านหลายช่องทาง ทั้งเพจเฟสบุ๊คส์-ทวิตเตอร์-อินตราแกรม ก่อนรวบรวม ยื่นบิ๊กกทม.แก้ปัญหา

นส.อรทัย จุลสุวรรณรักษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครร่วมกันส่งปัญหาที่พบเจอเกี่ยวกับการขับขี่ด้วยความ เร็ว ในเขตชุมชนเมืองมาที่เพจฟ้องป้าเปีย โดยสามารถรับชมคลิปวีดีโอรณรงค์ฟ้องป้าเปียได้ที่ลิงค์นี้https://www.facebook.com/fongpapia/videos/432343350461254 และส่งเรื่องร้องเรียนของตนเองมาพร้อมกับติดแอชแท็ก #ฟ้องป้าเปีย โดยมูลนิธิและเครือข่ายจะรวบรวมข้อร้องเรียนของประชาชนเพื่อยื่นให้กับผู้บริหารกทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ตาม มติคณะรัฐมนตรี ปี 2559 ที่เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมจัดทำข้อแนะนำความเร็วที่เหมาะสม ในพื้นที่ชุมชนให้สอดคล้องกับถนนแต่ละประเภท โดยให้แต่ละจังหวัดดำเนินการคัดเลือกถนนที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดอุบัติเหตุเพื่อกำหนดความเร็วที่เหมาะสมกับพื้นที่ชุมชนและให้มีการติดตั้งป้ายความเร็ว โดยในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯ ได้มอบหมายให้ กทม. ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมดำเนินการ ในส่วนดังกล่าวโดยให้กำหนดเส้นทางนำร่องเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินการควบคุมความเร็ว

ผู้จัดการประจำประเทศไทย มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุบนถนนหลวงของไทยระหว่างปี 2544 – 2566 พบว่า การขับขี่ด้วยความเร็ว ที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุของจำนวนอุบัติเหตุถึงร้อยละ 77 ของจำนวนอุบัติเหตุบนทางหลวง ทั้งหมด โดยในปี 2544 เพียงปีเดียว มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ด้วยความเร็วที่ไม่ เหมาะสมสูงถึง 8,300 คน หรือ 2 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนทางหลวงทั้งหมดในปีนั้น โดยในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่ใช้ความเร็วได้ต่ำ เพราะมีปริมาณยานพาหนะที่หนาแน่น กลับพบว่ามีจำนวนคดีอุบัติเหตุจราจรที่เกิดจาก การขับรถ เร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดถึง 4,424 ราย สูงเป็นอันดับที่ 3 มากกว่าคดีที่เกี่ยวกับเมาแล้วขับ ถึงร้อยละ 66 โดยพื้นที่ที่มีจำนวนคดีอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการขับรถเร็วสูงสุด คือ พื้นที่ นครบาล 2 หรือย่าน สุทธิสาร บางซื่อ เตาปูน ดอนเมือง บางเขน สายไหม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่น และมียานพาหนะในปริมาณที่มาก ซึ่งยานพาหนะประเภทรถยนต์นั่งเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดถึงร้อยละ 41 รองลงมาคือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 34 และรถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) ร้อยละ 8 แต่ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด คือ คนเดินเท้าและรถจักรยาน

"พื้นที่นำร่องที่กทม.จะต้องดำเนินการเพื่อควบคุมความเร็วนั้นจะต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจ และกำหนดจุดพิกัดเพื่อที่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งหลังจากที่เรารวมรวมข้อร้องเรียนและความคิดเห็นของประชาชนผ่านเพจฟ้องป้าเปียแล้ว เราและภาคีเครือข่ายจะจะยื่นเรื่องให้กทม.และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกำหนดเขตควบคุมความเร็วในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นอย่างน้อย 2 เส้นทางโดยจะต้องมีการ ติดตั้งป้ายจำกัดความเร็ว และมีการบังคับใช้ความเร็วจำกัดเฉพาะที่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและการจราจรด้วย ดังนั้นเสียงของประชาชนจึงมีส่วนสำคัญในการกำหนดพื้นที่สัญจรอย่าปลอดภัย ของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน " นส.อรทัยกล่าว

ขณะที่นายนภดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า รถไม่ใช่อาวุธแต่ถ้าประมาทเมื่อไหร่อาวุธคือรถ ทุกปีมีคนไทยเสียชีวิต 2 หมื่นคน บาดเจ็บหลายแสนคนต่อปี ขณะที่รายงานของโลก ทุกๆ 25 วินาทีจะมีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน 1 คน โดยประเทศไทยเป็นอันดับสอง ของโลก ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องบริหารจัดการและลดความ สูญเสียของประเทศ เพราะวิกฤตวันนี้คนที่เสียชีวิต 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเยาวชน และวัยทำงาน นี่คือกลุ่มคนที่นับเป็น 3เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี เท่ากับว่าในแต่ละปีประเทศไทยสูญเสียถึง 4 แสนล้านบาท ขณะที่เราเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ แปลว่ารัฐจะต้องชดเชยเพิ่มไปอีก ไทยกำลังเข้าสู่สังคม "ผู้สูงวัย –ตายเร็ว-เกิดน้อย "สะท้อนไปถึงประเทศชาติ เรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านนายพิสิษฐ์ วงศ์เธียรธนา ผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ความเร็วที่เหมาะสม จากการดูสถิตต่างประเทศ คือ 40-60 กม.ต่อชม. ซึ่ง ปภ. ได้นำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัด ที่สามารถลดความเร็ว ในเขตเมืองได้ เช่น มหาสารคาม ที่ลดเหลือ 40 กม.ต่อชม. เพราะคนในชุมชนร่วมมือ ซึ่งภายหลังจากการ ลดความเร็วลงพบว่าอุบัติเหตุในพื้นที่ลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้มีอีก 6 จังหวัดที่กำลังจะประกาศอัตรา ความเร็วใหม่

"ความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วม ต้องให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ประชาชนเป็น หัวหอกหลัก เพราะเป็นพื้นที่ลูกหลานประสบอุบัติเหตุ มีเหตุและผล ที่รองรับ ไม่ใช่กำหนดในการใช้อำนาจ แต่เป็นความสมัครใจในการพัฒนา" นายพิสิษฐ์ กล่าว และว่า การกำหนดความเร็วใน กทม. เราจำเป็นต้องจุดพลุ ให้ดัง เราทราบดีว่า ประชาชนส่วนใหญ่ทำงานออฟฟิศ การร่วมตัวเรียกร้องอาจไม่เหมือนกับส่วนภูมิภาค ดังนั้น เราอาจเริ่มที่เขต สำนักงานเขต ประสานกับ ตำรวจพื้นที่ในก็จะเกิดผล" ผู้แทนปภ.กล่าว

ขณะที่นายณัฐพงศ์ บุญตอบ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มูลนิธิไทยโรดส์ กล่าวว่า สาเหตุการ เกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย อันดับ 1 มาจากการใช้ความเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ครองแชมป์มานาน โดยสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดที่ขับรถ เกินกว่าอัตราที่กำหนดของตำรวจทางหลวงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ในปี 2558 พบว่ามีจำนวนมากกว่า 8 แสนราย ซึ่งแม้ว่าสถิติการจับกุมผู้ขับรถเร็วจะเพิ่มมากขึ้นทุกปีแต่ก็ไม่ได้ทำให้สถิติอุบัติเหตุที่จากการขับรถเร็วลดน้อยลง

นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า การจำกัดความเร็วในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันกำหนด ให้รถยนต์และ รถจักรยานยนต์ ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. นอกเขตเทศบาล และไม่เกิน 80 กม./ชม. ในเขตเทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยถูกกำหนดให้เป็นความเร็วตามที่ กฎหมาย กำหนด (National Speed Limit) และบังคับใช้เหมือนกันทั้งประเทศ แตกต่างจากในต่างประเทศที่ นอกจากจะมีความเร็วจำกัดตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีการจำกัดความเร็ว แบ่งตามประเภทของพื้นที่เช่น ในเขตชุมชนหรือบริเวณหน้าโรงเรียนเอาไว้ที่ 30 กม./ชม. ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุความเร็วระดับนี้โอกาสที่จะเสียชีวิตก็น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการชนด้วยความเร็วในระดับอื่นๆ ที่สูงกว่า

นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า จากสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนนกว่า 2,000 ราย ในปี 2558 ที่ผ่านมา ถึงสาเหตุของการขับรถเร็ว โดยผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ระบุว่า สาเหตุที่ขับรถเร็ว มาจากความเร่งรีบถึงร้อยละ 43 รองลงมาคือ เห็นถนนโล่ง ร้อยละ 36 นอกจากนี้ผู้ใช้รถใช้ถนน ที่เคยถูกตรวจจับความเร็วเท่ามีเพียงร้อยละ 17 เท่านั้นที่ยอมรับว่าเลิกขับรถเร็วอย่างถาวร หลังจากถูกตรวจจับ ในขณะที่ผู้ขับขี่ที่เคยถูกตรวจจับอีกร้อยละ 63 ยอมรับว่ามีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมขับรถช้าลงเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เปิดตัวโครงการ “ฟ้องป้าเปีย” ให้คนกรุงส่งเรื่องร้องเรียน ปัญหาความเร็วในชุมชนเมือง ผ่านหลายช่องทาง ทั้งเพจเฟสบุ๊คส์-ทวิตเตอร์-อินตราแกรม ก่อนรวบรวม ยื่นบิ๊กกทม.แก้ปัญหา มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เปิดตัวโครงการ “ฟ้องป้าเปีย” ให้คนกรุงส่งเรื่องร้องเรียน ปัญหาความเร็วในชุมชนเมือง ผ่านหลายช่องทาง ทั้งเพจเฟสบุ๊คส์-ทวิตเตอร์-อินตราแกรม ก่อนรวบรวม ยื่นบิ๊กกทม.แก้ปัญหา มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เปิดตัวโครงการ “ฟ้องป้าเปีย” ให้คนกรุงส่งเรื่องร้องเรียน ปัญหาความเร็วในชุมชนเมือง ผ่านหลายช่องทาง ทั้งเพจเฟสบุ๊คส์-ทวิตเตอร์-อินตราแกรม ก่อนรวบรวม ยื่นบิ๊กกทม.แก้ปัญหา
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit